เมนู

ไม่มีสัตว์หรือชีวะมีแต่ธรรม 2



ธรรมทั้งหมด คือ อรูปธรรมเหล่านี้ และรูปธรรม 66 ดังว่ามานี้
ครั้นประมวลแล้ว ก็มีธรรมอยู่ 2 อย่าง คือ นาม 1 รูป 1 ไม่มีสัตว์หรือ
ชีวะนอกไปจากธรรม 2 อย่างนั้น.

กำหนดปัจจัยของนาม - รูป



พระโยคาวจรครั้นกำหนดเบญจขันธ์ โดยเป็นนามรูป ดังว่ามานี้
เมื่อแสวงหาปัจจัยของนามรูปเหล่านั้น ก็เห็นปัจจัยอย่างนี้ คือ เพราะมีอวิชชา
เป็นปัจจัย เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย เพราะมีกรรมเป็นปัจจัย เพราะมีอาหาร
เป็นปัจจัย แล้วข้ามพ้นความสงสัยในกาลทั้ง 3 ได้คือ แม้ในอดีต นามรูปนี้
ก็เป็นไปแล้วด้วยปัจจัยเหล่านี้ แม้ในอนาคตก็จักเป็นไปด้วยปัจจัยเหล่านี้
แม้ในปัจจุบันก็เป็นไปอยู่ด้วยปัจจัยเหล่านี้เหมือนกัน (จากนั้น) ก็ปฏิบัติไป
ตามลำดับ (จนกระทั่ง) ได้บรรลุอรหัตผล. พึงทราบกัมมัฏฐานที่เป็นเหตุให้
บรรลุอรหัตผลด้วยอำนาจธาตุ 6 แม้โดยพิสดาร ดังว่ามานี้.

ผัสสายตนะ 6



บทว่า จกฺขุํ ผสฺสายตนํ ความว่า จักษุ ชื่อว่า อายตนะ เพราะ
หมายความว่า เป็นบ่อเกิด โดยอรรถว่าเป็นสมุฏฐานแห่งผัสสะ 7 ที่เกิด
พร้อมกับวิญญาณ 7 เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ 2 สัมปฏิจฉันนวิญญาณ 2
สันตีรณวิญญาณ 3 เปรียบเหมือนทองคำเป็นต้นเป็นบ่อเกิดของทองคำเป็นต้น.
แม้ในบทว่า โสตํ ผสฺสายตนํ เป็นต้นก็มีนัย นี้แล.

ส่วนในบทว่า มโน ผสฺสายตนํ นี้ พึงทราบว่าได้แก่วิบากผัสสะ 22
กัมมัฏฐานนี้มาด้วยอำนาจผัสสายตนะ 6 ดังว่ามานี้. กัมมัฎฐานนั้นควรกล่าว
ทั้งโดยย่อ ทั้งโดยพิสดาร. ว่าโดยย่อก่อน ก็ในอายตนะ 6 นี้ อายตนะ 5
ข้อแรก ชื่อว่า อุปาทารูป เมื่อเห็นอายตนะ 5 นั้นแล้วก็เป็นอันเห็นอุปาทารูป
ที่เหลือด้วย. อายตนะที่ 6 คือ จิต เป็นวิญญาณขันธ์. ธรรม 3 ที่เหลือมี
เวทนาเป็นต้น ที่เกิดพร้อมกับวิญญาณขันธ์นั่น เป็นอรูปขันธ์. พึงทราบ
กัมมัฏฐานที่เป็นเหตุให้บรรลุอรหัตผล ทั้งโดยย่อ ทั้งโดยพิสดาร ตามนัยที่
กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั่นแล.

มโนปวิจาร 18



บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา ความว่า เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ.
บทว่า โสมนสฺสฏฐานิยํ ได้แก่ เป็นเหตุแห่งโสมนัส. ภิกษุเมื่อส่งใจ
เที่ยวไป ชื่อว่า เที่ยวไปอย่างใกล้ชิด ในบทว่า อุปวิจรติ นี้. แม้ใน
บทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. ในบทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา นี้ พึงทราบว่า
รูปจะเป็นที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม เห็นรูปใดแล้วโสมนัสเกิดขึ้น
รูปนั้นชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส. เห็นรูปใดแล้วโทมนัสเกิดขึ้น รูปนั้น
ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เห็นรูปใดแล้วอุเบกขาเกิดขึ้น รูปนั้น ชื่อว่า
เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา. แม้ในเสียงเป็นต้นก็นัยนี้ นี้แล. กัมมัฏฐานนี้
มาแล้วโดยย่อ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ส่วนกัมมัฏฐานนั้น ในที่ที่
มาแล้วโดยย่อ ควรกล่าวทั้งโดยย่อ ทั้งโดยพิสดาร. ในที่มาแล้วโดยพิสดาร.